วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ประวัติโดยย่อของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

 

             จากที่กล่าวมาแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเกิดการจากการรวมกันของเทคโนโลยี  2  ด้าน  คือเทคโนโลยีโทรคมนาคมกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ซึ่งแต่ละด้านมีประวัติหรือพัฒนาการ ดังนี้

 

เทคโนโลยีโทรคมนาคม

 

             เทคโนโลยีโทรคมนาคม  เริ่มจากการประดิษฐ์โทรเลขของ  แซมวล  มอร์ส  (Samual Morse) ในปี  พ.ศ. 2380 นับว่าเป็นครั้งแรก ที่ข่าวสารถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า ส่งไปตามสายเป็นระยะทางไกลๆ ได้โดยอาศัยวิธีการเข้ารหัสตัวอักษร เป็นรหัสอื่นที่ประกอบด้วยจุด (.) และขีด (-) เช่น สัญญาณข้อความช่วยเหลือฉุกเฉิน SOS จะเข้ารหัสเป็น... - - - ... การรับส่งโทรเลขได้ถูกนำมาใช้งานในเชิงการค้าตั้งแต่ พ.ศ. 2387 เป็นต้นมา  และในปี พ.ศ. 2401  ได้มีการวางสายเคเบิล ใต้มหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้เกิดการสื่อสารข้ามทวีประหว่างทวีปอเมริกากับทวีปยุโรปขึ้นเป็นครั้งแรก

    9-26-2011 2-22-33 PM-vert                         10-1-2011 3-03-15 PM

(ก)                                                                                                   (ข)

            (ก)  ภาพแสดงแป้นเคาะโทรเลข  มอร์ส – เวล  (Morse – Vail)

            (ข)  ภาพแสดงโทรเลขเครื่องพิมพ์เอดิสันสต๊กพรินเตอร์ (Edison Stock Printer)

             ในปี พ.ศ. 2419 อเล็กซานเดอร์ แกรแฮม เบลล์ (Alexander Graham Bell)ได้ประดิษฐ์โทรศัพท์ และได้ตั้งชุมสายโทรศัพท์แห่งแรกที่เมืองนิวเฮเวน รัฐคอนเนตทิคัต สหรัฐอเมริกา จากนั้นเครือข่ายโทรศัพท์ได้ขยายตัวออกไปอย่างรวดเร็ว จนในปัจจุบันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ด้วยระบบโทรศัพท์ทางไกลอัตโนมัติ นับเป็นพัฒนาการอันยิ่งใหญ่ด้านเทคโนโลยีเครือข่ายโทรคมนาคม

 

           ด้านการสื่อสารไร้สาย ได้มีการพัฒนาการค้นพบคลื่นวิทยุในปี พ.ศ. 2430 โดย ไฮน์ริช แฮตน์

(เฮิร์ต) (Heinrich Hertz) และต่อมาปี พ.ศ. 2437 กูกลิเอลโม มาร์โคนี (Guglielmo Marconi) สามารถประดิษฐ์เครื่องรับส่งวิทยุเครื่องแรกได้สำเร็จ จากนั้นได้มีพัฒนาการทางเทคโนโลยีที่สำคัญหลายอย่าง ดังต่อไปนี้

 

          ในปี พ.ศ. 2477-2479 จอห์น เฟลมมิง (John Flemming) และ ลี เดอ ฟอเรสต์ (Lee De Forest)ได้ประดิษฐ์หลอดสุญญากาศซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการขยายการแปรรูปสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์

 

            ในปี พ.ศ. 2497 วลาดิเมียร์ สวอริคิน (Vladimir Zworykin) ได้ประดิษฐ์หลอดภาพโทรทัศน์ ซึ่งเป็นที่มาของจอภาพคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน

          ในปี พ.ศ. 2490 ชอกลีย์ บาร์ดีน และ แบรตเทน (Schockley, Bardeen and Brattain) ได้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์ ซึ่งเป็นที่มาของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบสารกึ่งตัวนำไอซีและซีพียูในคอมพิวเตอร์

 

          ในปี พ.ศ. 2500 คิลบี และ นอยส์ (Jack Kilby, Robert Noyce) ได้ประดิษฐ์วงจรรวมหรือไอซี ซึ่ง เป็นเทคโนโลยีย่อส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีสมรรถนะสูงและมีขนาดเล็ก

 

         ในปี พ.ศ. 2504 บริษัทเอทีแอนด์ที ได้สร้างดาวเทียมสื่อสาร เทลสตาร์ 1 เป็นดาวเทียมสื่อสารดวงแรกของโลก

 

10-1-2011 3-55-49 PM           10-1-2011 3-56-26 PM

  (ก)                                                                                                                  (ข)

                                      (ก)  ภาพแสดงหลดสุญญากาศแบบต่างๆ

                                      (ข)  ภาพแสดงทรานซิสเตอร์แบบต่างๆ

 

10-1-2011 4-06-05 PM                     10-1-2011 4-06-33 PM

                     ภาพแสดงวงจรรวมหรือไอซี                                              ภาพแสดงเทลสตาร์ 1 ดาวเทียมสื่อสารดวงแรกของโลก

 

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

 

            คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้  เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการคำนวณ ซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้วเริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ  "ลูกคิด" (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้ว

 

textcom12image1

ภาพแสดงลูกคิด (Abacus)

 

            จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2376 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อ ชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine)  สามารถคำนวณค่าของตรีโกณมิติ ฟังก์ชั่นต่างๆ   ทางคณิตศาสตร์   การทำงานของเครื่องนี้แบ่งเป็น  3 ส่วน คือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนคำนวณ และส่วนควบคุม ใช้ระบบพลังเครื่องยนต์ไอน้ำหมุนฟันเฟือง มีข้อมูลอยู่ในบัตรเจาะรู คำนวณได้โดยอัตโนมัติ และเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ ก่อนจะพิมพ์ออกมาทางกระดาษ

 

          หลักการของแบบเบจได้ถูกนำมาพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ เราจึงยกย่องให้แบบเบจเป็นบิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์ หลังจากนั้นเป็นต้นมาได้มีผู้ประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมากมายหลายขนาด ทำให้เป็นการเริ่มยุคของคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริง โดยสามารถจัดแบ่งคอมพิวเตอร์ออกได้เป็น 5 ยุค

 

 

ยุคที่ 1 พ.ศ. 2489 – 2501

            เป็นการประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มิใช่เครื่องคำนวณ โดยเมาช์ลีและเอ็กเคอร์ต (Mauchly and Eckert) ได้นำแนวความคิดนั้นมาประดิษฐ์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากเครื่องหนึ่งเรียกว่า ENIAC (Electronic Numerical Integrator and Calculator) ซึ่งต่อมาได้ทำการปรับปรุงการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และได้ประดิษฐ์เครื่อง UNIVAC (Universal Automatic Computer) ขึ้นเพื่อใช้ในการสำรวจสำมะโนประชากรประจำปี

 

clip_image002

ภาพแสดงเครื่องคอมพิวเตอร์ (ENIAC)

 

            จึงนับได้ว่า UNIVAC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่ถูกใช้งานในเชิงธุรกิจ จึงนับเป็นการเริ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกอย่างแท้จริงเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้หลอดสุญญากาศในการควบคุมการทำงานของเครื่อง ซึ่งทำงานได้อย่างรวดเร็ว แต่มีขนาดใหญ่มากและราคาแพง ยุคแรกของคอมพิวเตอร์สิ้นสุดเมื่อมีผู้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์มาใช้แทนหลอดสุญญากาศ

 

ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 1

 

            ใช้อุปกรณ์หลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube) เป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และเกิดความร้อนสูง ทำงานด้วยภาษาเครื่อง (Machine Language) เท่านั้น เริ่มมีการพัฒนาภาษาสัญลักษณ์ (Assembly / Symbolic Language) ขึ้นใช้งาน

 

pic1211

หลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube)

 

 

ยุคที่ 2 พ.ศ. 2502 – 2506

            มีการนำทรานซิสเตอร์ มาใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์จึงทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลง และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มีความรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ในยุคนี้ยังได้มีการคิดภาษาเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาฟอร์แทน (FORTRAN) จึงทำให้ง่ายต่อการเขียนโปรแกรมสำหรับใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์

 

clip_image002[9]

ภาพแสดงเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคที่เริ่มใช้อุปกรณ์ทรานซิสเตอร์

 

ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 2

            ใช้อุปกรณ์ ทรานซิสเตอร์ (Transistor) ซึ่งสร้างจากสารกึ่งตัวนำ (Semi-Conductor) เป็นอุปกรณ์หลัก แทนหลอดสุญญากาศ  เนื่องจากทรานซิสเตอร์เพียงตัวเดียว  มีประสิทธิภาพในการทำงานเทียบเท่าหลอดสุญญากาศได้นับร้อยหลอด ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดเล็ก ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย ความร้อนต่ำ  ทำงานเร็ว  และได้รับความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น  เก็บข้อมูลได้  โดยใช้ส่วนความจำวงแหวนแม่เหล็ก   (Magnetic Core)  มีความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง  ประมาณหนึ่งในพันของวินาที  (Millisecond : mS)   สั่งงานได้สะดวกมากขึ้น  เนื่องจากทำงานด้วยภาษาสัญลักษณ์ (Assembly Language)  เริ่มพัฒนาภาษาระดับสูง  (High Level Language)  ขึ้นใช้งานในยุคนี้

 

 

ยุคที่ 3 พ.ศ. 2507 – 2512

            คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เริ่มต้นภายหลังจากการใช้ทรานซิสเตอร์ได้เพียง 5 ปี เนื่องจากได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับวงจรรวม (Integrated-Circuit) หรือเรียกกันย่อๆ ว่า "ไอซี" (IC) ซึ่งไอซีนี้ทำให้ส่วนประกอบและวงจรต่างๆ สามารถวางลงได้บนแผ่นชิป (chip) เล็กๆ เพียงแผ่นเดียว จึงมีการนำเอาแผ่นชิปมาใช้แทนทรานซิสเตอร์ทำให้ประหยัดเนื้อที่ได้มาก

 

clip_image004

ภาพแสดงเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคที่เริ่มใช้วงจร IC (Integrated-Circuit)

 

             นอกจากนี้ยังเริ่มมีการใช้งานระบบจัดการฐานข้อมูล (Data Base Management Systems : DBMS) และมีการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้หลายๆ งานในเวลาเดียวกัน และมีระบบที่ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับเครื่องได้หลายๆ คน พร้อมๆ กัน (Time Sharing)

 

ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 3

            ใช้อุปกรณ์ วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) หรือ ไอซี และวงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) เป็นอุปกรณ์หลัก ความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านของวินาที (Microsecond : mS) สูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1 ประมาณ 1,000 เท่า ทำงานได้ด้วยภาษาระดับสูงทั่วไป

 

 

clip_image006

ภาพแสดงลักษณะของวงจร IC(Integrated-Circuit)

 

 

ยุคที่ 4 พ.ศ. 2513 – 2532

           เ ป็นยุคที่นำสารกึ่งตัว  นำมาสร้างเป็นวงจรรวมความจุสูงมาก (Very Large Scale Integrated : VLSI)  ซึ่งสามารถย่อส่วนไอซีธรรมดาหลายๆ วงจรเข้ามาในวงจรเดียวกัน   และมีการประดิษฐ์ ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ขึ้น  ทำให้เครื่องมีขนาดเล็ก  ราคาถูกลง  และมีความสามารถในการทำงานสูงและรวดเร็วมาก  จึงทำให้มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer)  ถือกำเนิดขึ้นมาในยุคนี้

 

clip_image008

ภาพแสดงเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC)

 

ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 4

           ใช้อุปกรณ์ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) และ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่มาก  (Very Large Scale Integration : VLSI) เป็นอุปกรณ์หลัก มีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันล้านวินาที (Nanosecond : nS) และพัฒนาต่อมาจนมีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านล้านของวินาที (Picosecond : pS)

 

clip_image009

ภาพแสดงอุปกรณ์หลักในการคำนวณและประมวลผล (CPU) ในคอมพิวเตอร์

 

 

ยุคที่ 5 พ.ศ. 2533 – ปัจจุบัน

          ในยุคนี้มุ่งเน้นการพัฒนาความสามารถในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ และความสะดวกสบายในการใช้งานอย่างชัดเจน  มีการพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็ก (Portable Computer) ขึ้นใช้งานในยุคนี้

            โครงการพัฒนาอุปกรณ์ VLSI(Very Large Scale Integration) ให้ใช้งานง่ายและมีความสามารถสูงขึ้น รวมทั้งโครงการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) เป็นหัวใจของการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ โดยหวังให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นเหตุเป็นผล ตามลักษณะของโปรแกรม

 

 

ลักษณะของระบบปัญญาประดิษฐ์

 

         ระบบปัญญาประดิษฐ์มี  4  ลักษณะ   ได้แก่

 

            1)  ระบบหุ่นยนต์ หรือแขนกล (Robotics or Robot arm System) คือ  หุ่นจำลองร่างกายมนุษย์ที่ควบคุมการทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ มีจุดประสงค์เพื่อให้ทำงานแทนมนุษย์ในงานที่ต้องการความเร็ว หรือเสี่ยงอันตราย เช่น แขนกลในโรงงานอุตสาหกรรม หรือหุ่นยนต์กู้ระเบิด เป็นต้น

 

clip_image011

ภาพแสดงลักษณะระบบปัญญาประดิษฐ์แบบหุ่นยนต์

 

          2)  ระบบประมวลภาษาพูด (Natural Language Processing System) คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถสังเคราะห์เสียงที่มีอยู่ในธรรมชาติ (Synthesize) เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ เช่น เครื่องคิดเลขพูดได้ (Talking Calculator) หรือนาฬิกาปลุกพูดได้ (Talking Clock) เป็นต้น

 

clip_image013

 

ภาพแสดงลักษณะระบบปัญญาประดิษฐ์แบบภาษาพูด

 

           3)  ระบบการรู้จำเสียงพูด (Speech Recognition System) คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์ และสามารถจดจำคำพูดของมนุษย์ได้อย่างต่อเนื่อง กล่าวคือเป็นการพัฒนาให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ด้วยภาษาพูด เช่น งานระบบรักษาความปลอดภัย งานพิมพ์เอกสารสำหรับผู้พิการ  เป็นต้น

 

            4)  ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ รู้จักใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหา โดยใช้ความรู้ที่มีหรือจากประสบการณ์ ในการแก้ปัญหาหนึ่ง ไปแก้ไขปัญหาอื่นอย่างมีเหตุผล ระบบนี้จำเป็นต้องอาศัยฐานข้อมูล (Database) ซึ่งมนุษย์ผู้มีความรู้ความสามารถเป็นผู้กำหนดองค์ความรู้ ไว้ในฐานข้อมูลดังกล่าว เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ได้จากฐานความรู้นั้น  เช่น  เครื่องคอมพิวเตอร์วิเคราะห์โรค หรือ เครื่องคอมพิวเตอร์ทำนายโชคชะตา  เป็นต้น

 

             ในปี พ.ศ. 2390 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ จอร์ช บูล (George Boole) ได้เผยแพร่คณิตศาสตร์แนวใหม่ที่เรียกว่า พีชคณิตแบบบูลีน (Boolean Algebra) ซึ่งต่อมากลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการออกแบบ วงจรตรรกะ (Logic Circuit) ซึ่งวงจรตรรกะนี้เป็นส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

 

clip_image015            clip_image017

(ก)                                                                                         (ข)

                           (ก)  ส่วนหนึ่งของเครื่องจักรวิเคราะห์ของแบบเบจ

                          (ข )  อินิแอ็ก คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกของโลก

 

            คอมพิวเตอร์ระบบอิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกของโลก  ที่สามารถบรรจุโปรแกรม   ให้คำนวณข้อมูลได้หลากหลาย   ถูกสร้างขึ้นที่สหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2489 เพื่อใช้การคำนวณวิถีกระสุนปืนใหญ่ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 มีชื่อเรียกว่า อินิแอ็ก (Electronic Numerical Integrator and Calculator : ENIAC) คอมพิวเตอร์เครื่องนี้มีวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้หลอดสุญญากาศ ประมาณ 18,000 หลอด  ว่ากันว่าเครื่องนี้สามารถคำนวณโจทย์ยากๆ  ทางนิวเคลียร์ฟิสิกส์โดยใช้เวลาเพียง  2 ชั่วโมง  แทนที่จะใช้วิศวกร  100  คนคำนวณด้วยมือในเวลาถึง 1  ปี อีกสองปีต่อมาฟอน  นอยมัน  (Von Neuman)    นักคณิตศาสตร์ซึ่งอยู่ในทีมงานที่สร้างอินิแอ็ก มีแนวคิดใหม่ว่า คอมพิวเตอร์ควรมีหน่วยความจำสำหรับเก็บโปรแกรมด้วยแทนที่จะเก็บเฉพาะข้อมูลเหมือนเครื่องอินิแอ็ก เขาจึงสร้างเครื่องใหม่ขึ้นและให้ชื่อว่า เอ็ดแว็ก (Edvac) ผู้นี้จึงได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์แบบที่ใช้กันมาจนทุกวันนี้

 

           หลังจากที่ได้มีการประดิษฐ์ ทรานซิสเตอร์ในปี พ.ศ. 2490 คอมพิวเตอร์ยุคต่อมา ซึ่งใช้ทรานซิสเตอร์แทนหลอดสุญญากาศจึงมีขนาดเล็กลง  สิ้นเปลืองพลังงานน้อยลง  อีกทั้งโอกาสเสียน้อยลง  เพราะไม่ร้อนจัด  แต่พลังงานที่ถือว่าเป็นจุดหักเหของเทคโนโลยี  คือ  การประดิษฐ์วงจรรวมหรือไอซีพิเศษที่เรียกว่า  ไมโครโพรเซสเซอร์  (Microprocessor)  ขึ้นในปี  พ.ศ. 2513  โดย  เทด ฮอฟฟ์  (Ted Hoff)  แห่งบริษัท อินเทล (Intel) ไมโครโพรเซสเซอร์  คือ ไอซี ที่ใช้ทำหน้าที่  เป็นหน่วยประมวลผลกลางของคอมพิวเตอร์และของเครื่องควบคุมอัตโนมัติต่างๆนั่นเอง  ในปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตไมโครโพร เซสเซอร์  จะผลิตไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นใหม่ที่มีสรรถนะสูงขึ้นเรื่อยๆ    ออกมาทุก 6 เดือน   จึงทำให้คอมพิวเตอร์พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว

 

              คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน จัดอยู่ในประเภทคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) หรือพีซี บริษัทแรกที่ใช้คำนี้คือบริษัท ไอบีเอ็ม (IBM) ใช้เรียกคอมพิวเตอร์ขนาดตั้งโต๊ะที่วาง ตลาดในปี พ.ศ. 2524 แต่อันที่จริงคอมพิวเตอร์ขนาดตั้งโต๊ะเครื่องแรกที่ใช้งานได้จริงมีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 คือ แอปเปิลทู (Apple II) ซึ่งออกแบบและผลิตจำหน่ายโดย สตีฟ จอบส์ (Steve Wozniak and Steve Jobs)

 

              การที่แอปเปิลทูโด่งดังและขายดีติดตลาดอยู่หลายปี เพราะมีผู้เขียนโปรแกรมสนับสนุนเริ่มตั้งแต่โปรแกรมแปลภาษาเบสิก  (Basic Interpreter)  ซึ่งผู้ใช้สามารถเขียนโปรแกรมใช้งานง่ายขึ้น นอกจากนั้นยังมีโปรแกรมวิสิคาล  (VisiCalc) ซึ่งเป็นโปรแกรมตารางคำนวณอัตโนมัติโปรแกรมแรกของโลก ทำให้สามารถใช้คอมพิวเตอร์ทำบัญชีได้อย่างง่ายดาย นี่เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า โปรแกรม หรือ ซอฟต์แวร์ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้

 

           10-2-2011 2-32-06 AM           10-2-2011 2-31-13 AM

                                     ภาพแสดงแอปเปิลทู                                              ภาพแสดงวงจรควบคุมการจุดระเบิดในเครื่องยนต์

                         คอมพิวเตอร์ขนาดตั้งโต๊ะเครื่องแรกที่ใช้งานได้จริง    

 

            ในช่วงแรกของยุคคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลนั้น  คอมพิวเตอร์ยังมีขีดความสามารถไม่สูงนัก  การใช้งานส่วนใหญ่จะใช้ในการคำนวณ หรือเก็บข้อมูลที่เป็นข้อความ (Text) ต่อมา จึงได้มีการพัฒนาให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถจัดการกับข้อมูลที่เป็น  รูปภาพสี  ทั้งภาพนิ่ง  ภาพเคลื่อนไหว  ภาพยนตร์ และ เสียงคอมพิวเตอร์ จึงมีความพร้อมอย่างสมบูรณ์ สำหรับงานสารสนเทศที่ประกอบด้วยสื่อชนิดต่างๆ เราเรียกระบบเช่นนี้ว่า  ระบบมัลติมีเดีย  (Multimedia)

 

            นอกจากคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์แล้ว  ยังมีการพัฒนาเรื่องการนำคอมพิวเตอร์  มาต่อเชื่อมกันเป็นเครือข่าย  เพื่อสามารถรับส่งข้อมูลและทำงาน  ประสานกันระหว่างเครื่อง การเชื่อมต่อเครือข่ายที่เล็กที่สุด  คือ  เครือข่ายภายในสำนักงานเดียวกัน  เรียกว่า เครือข่ายบริเวณเฉพาะที่ หรือ แลน (Local Area Network : LAN) ส่วนเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดครอบคลุมไปทั่วโลก คือ อินเทอร์เน็ต (Internet)ซึ่งเป็นสิ่งที่นำความเปลี่ยนแปลงทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศมีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว

2 ความคิดเห็น:

  1. ตรวจแล้ว..เนื้อหาเหมาะสม แต่หากตกแต่งให้ตัวอักษรข้อความมีสีสันบ้างจะช่วยดึงดูดความสนใจได้ดีมากขึ้น

    ตอบลบ
  2. รับทราบค่ะ และจะนำคำชี้แนะแก้ไขต่อไปค่ะ

    ตอบลบ